วันศุกร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

โครงงานการเลี้ยงปลาดุก

กิตติกรรมประกาศ
การศึกษาโครงงานเรื่องนี้สำเร็จ ได้ด้วยความช่วยเหลือให้คาปรึกษาจากครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ที่ได้ให้ความกรุณาชี้แนะแนวทางและการตรวจสอบการแก้ไขข้อบกพร่องของโครงงานจนสำเร็จด้วยดี คณะผู้ศึกษาจึงขอกราบพระคุณท่านเป็นอย่างยิ่ง
ขอขอบพระคุณผู้อานวยการโรงเรียน คณะครูโรงเรียนบัวเชดวิทยา ที่อนุเคราะห์และอำนวยความสะดวกแหล่งค้นคว้าข้อมูล
ขอขอบพระคุณเพื่อนนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ที่ให้กาลังใจด้วยดีเสมอมา
ขอขอบพระคุณคุณพ่อ คุณแม่และญาติทุกคนของคณะผู้ศึกษา ที่คอยเป็นกาลังใจอันสำคัญยิ่งให้แก่คณะผู้ศึกษาค้นคว้าจนประสบผลสำเร็จ
คุณค่าและประโยชน์ของการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าขอมอบเป็นเครื่องบูชาพระคุณบิดา มารดาบูรพาจารย์ และผู้มีพระคุณทุกท่าน
                                                                                                                                                       คณะผู้จัดทา

บทคัดย่อ
โครงงานการงานอาชีพเรื่อง การเลี้ยงปลาดุก มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเรื่องเกี่ยวกับเกษตรต่างๆ เพื่อที่จะสามารถนามาใช้กับชีวิตประจาวันและสอดคล้องกับแนวพระราดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยคณะผู้จัดทาได้ออกศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต และศึกษาสัมภาษณ์จากชาวบ้าน จากชาวบ้านชุมชนใกล้เคียงที่มีการเพาะเลี้ยงปลาดุก คณะผู้จัดทาได้ความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกก็มีแนวความคิดจัดทาขึ้นเป็นโครงงาน เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกและเมื่อได้ความรู้แล้วก็สามารถที่จะนาไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจาวันได้ เมื่อนาไปประยุกต์ใช้ก็ทาให้เกิด ความพอเพียง พอมี พอกิน ในชีวิตประจาวันของตนเอง

สารบัญ
เรื่อง                                                                                                                 หน้า
กิตติกรรมประกาศ                                                                                              ก
บทคัดย่อ                                                                                                            ข
บทที่ 1 บทนำ                                                                                                     1-2
บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง                                                                                  3-9
บทที่ 3 วิธีการดำเนินงาน                                                                                   10-17
บทที่ 4 ผลการศึกษาค้นคว้า                                                                               18-21
บทที่ 5 สรุปผล                                                                                                   22-25               
เอกสารอ้างอิง

บทที่ ๑
บทนำ
ที่มาและความสำคัญ
เนื่องด้วยคณะผู้ศึกษาไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ มีแนวความคิดจัดทาโครงงานการงานอาชีพ เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก อยากมีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ เพื่อประยุกต์ใช้กับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อที่จะได้ออก สัมภาษณ์ ลงมือปฏิบัติจริง และได้ศึกษาค้นค้าหาความรู้เรื่องการเพาะเลี้ยงปลาดุก ด้วยตนเอง และนาความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้ความรู้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และมีความเชี่ยวชาญเรื่องการเลี้ยงปลาดุกมาก ๆ และมีโอกาสได้ลงมือปฏิบัติจริงและสามารถสอบเรื่องในรายวิชา งานเกษตร ได้ผลสัมฤทธิ์ ในระดับดี ในภาคเรียนต่อ ๆ มา
วิชาการงานอาชีพทุกคนต้องมีความรู้ความเชี่ยวชาญ เกี่ยวกับการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ การศึกษาโครงงาน เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก จึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสาหรับผู้ที่ต้องการศึกษาค้นคว้าต้องการรู้จักเรื่องการเลี้ยงปลาดุก ของการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ
เช่น ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน เป็นต้น ได้ความรู้จากการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มาก
จากข้อความดังกล่าว คณะผู้ศึกษาจึงทาโครงงาน เรื่องการเลี้ยงปลาดุกขึ้น
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อศึกษา สัมภาษณ์ การเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ จากชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และจากอินเทอร์เน็ต
๒. เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒ มีความรู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ
๓. เพื่อนักเรียนรู้จักความพอเพียงในการดารงชีวิตประจาวัน
๔. เพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนมีอาหารไว้รับประทาน
๕. เพื่อที่จะได้ลงมือปฏิบัติจริง
สมมุติฐานการศึกษาค้นคว้า
คณะผู้จัดทาไม่รู้เรื่องการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ มากพอ และไม่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการลงมือปฏิบัติจริง
ความมุ่งหมายของการศึกษา
เพื่อรวบรวมข้อมูล เรื่องการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ จัดทาขึ้นเป็นโครงงานการงานอาชีพ
ความสำคัญของการศึกษา
ทำให้ทราบเรื่อง การเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำรัส รู้เรื่องเกษตรต่าง ๆ มากมาย
ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า
การศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาจากอินเทอร์เน็ต และสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
นิยามศัพท์เฉพาะ
เกษตร หมายถึง ที่ดิน , ทุ่ง , นา , ไร่ เช่น พุทธเกษตร
พอเพียง หมายถึง ได้เท่าที่กะไว้ เช่น ได้เท่านี้ก็พอแล้ว
พระราชดำรัส หมายถึง คาสั่งสอนของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ศึกษา หมายถึง การเล่าเรียน , ฝึกฝน , และอบรม
ค้นคว้า หมายถึง ข้อมูลอย่างถี่ถ้วนตามหลักวิชา , เสาะหาเอามา


บทที่ ๒
เอกสารที่สารที่เกี่ยวข้อง
         การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้ศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวของเพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาโครงงาน ดังหัวข้อต่อไปนี้
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
อินเทอร์เน็ต WWW.sunnahstudent. COM ได้แก่ ได้รู้จักวิธีการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ คือ ปลาดุกอุย ปลาดุกด้าน เป็นต้น
หนังสือกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ชั้น ม. ๔ ได้แก่ ความรู้เพิ่มเติม เรื่อง การเพาะเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ ตามแนวพระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ตัวอย่างแบบ โครงงานภาษาไทย ได้แก่ บทคัดย่อ กิตติกรรมประกาศ ที่มาและความสำคัญ วิธีดาเนินงาน
หนังสือเสริมความรู้ เรื่อง ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ได้แก่ ความรู้ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่ามีความเป็นมาแบบใด มีแนวปฏิบัติแบบใด ประยุกต์ได้แบบใด


ปลาดุกที่พบในประเทศไทย
       ใน ประเทศเรานั้นพบว่ามีปลาดุกด้วยกันทั้ง หมด 5 ชนิด แต่เท่าที่รู้จักมีเพียง 2 ชนิด คือ ปลาดุกอุย และปลาดุกด้าน ปลาดุกที่นิยมเลี้ยงคือ ปลาดุกด้าน เพราะเนื้อปลาดุกด้านค่อนข้างแข็ง ทำให้สามารถขนส่งได้ในระยะทางไกลๆ ประกอบกับปลาดุกด้านเลี้ยงง่าย โตเร็ว จึงเป็นที่นิยมเลี้ยงกันมาก แต่สำหรับผู้บริโภคแล้ว จะนิยมปลาดุกอุย เพราะให้รสชาติดีเนื้อปลานุ่ม ฟู กลิ่นดี

 ปลาดุกอุย
        สี ของผิวหนังค่อนข้างเหลือง มีจุดประตามตัวและบริเวณด้านข้างของลำตัวอย่างเด่นชัด เนื้อสีออกเหลือง มีมันมาก ลำคัวค่อนข้างทู่ ส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยจะป้านและสั้น

 ปลาดุกด้าน
      
สี ของลำตัวค่อนข้างคล่ำเล็กน้อย เนื้อมีสีขาว มีมันน้อย ส่วนหัวค่อนข้างแหลมและส่วนปลายของกระดูกท้ายทอยมีลักษณะแหลมยาว ลักษณะดังกล่าว สังเกตเห็นได้ชัดเจนมาก

 แหล่งกำเนิดและถิ่นอาศัย        ปลาดุกจะพบแพร่กระจายทั่วไปในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ประเทศอินเดีย พม่า ไทย ลาว กัมพูชา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม และมาเลเซีย สำหรับประเทศไทยพบปลาดุกในคลอง หนอง บึง ต่างๆทั่วทุกภาค เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดทั่วไป แม้ในหนองน้ำที่มีน้ำเพียงเล็กน้อยก็ยังพบปลาดุก ทั้งนี้เพราะปลาดุกเป็นปลาที่มีอวัยวะพิเศษในการหายใจ เช่นเดียวกับปลาช่อน ดังนั้นจึงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ในน้ำที่มีออกซิเจนเพียงเล็กน้อยและถึงแม้ ว่าน้ำที่ค่อนข้างกร่อยปลาดุกก็ยังสามารถอาศัยอยู่ได้เป็นอย่างดี

 ลักษณะนิสัยของปลาดุก
        ปลาดุกมีลักษณะที่ต่างจากปลาอื่นอย่างเห็นได้ชัดคือ ปลาดุกไม่มีเกล็ด รูปร่างเรียวยาว มีหนวด 4 คู่อยู่ที่ริมฝีปาก ตามีขนาดเล็กมาก ใช้หนวดในการหาอาหาร เพราะหนวดปลาดุกมีประสาทรับความรู้สึกที่ดีกว่าตา ปลาดุกชอบหากินตามหน้าดิน มีนิสัยว่องไว สามารถจะขึ้นมาอยู่บนบกได้ทนนานกว่าปลาชนิดอื่นๆ รวมถึงสามารถที่จะอาศัยอยู่ในดิน โคลน เลน และในน้ำที่มีปริมาณออกซิเจนต่ำได้นาน เนื่องจากมีอวัยวะพิเศษช่วยในการหายใจนั่นเอง อาหารที่ปลาดุกชอบกิน ส่วนมากเป็นอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ แต่ถ้านำมาเลี้ยงในบ่อก็สามารถฝึกให้กินอาหารจำพวกพืชได้ รวมถึงสามารถฝึกนิสัยให้ปลาดุกขึ้นมากินอาหารบริเวณผิวน้ำแทนการหาอาหารกิน ตามหน้าดินได้เช่นเดียวกัน

 
อาหารปลาดุก
        อาหาร ไม่ว่าสิ่งมีชีวิตใดๆ ล้วนแล้วแต่ต้องการอาหารเพื่อการดำรงอยู่ด้วยกันทั้งนั้น เมื่อปลาดุกฟักไข่ออกมาเป็นตัวลูกปลาดุกจะใช้อาหารจากถุงไข่แดงซึ่งติดอยู่ ด้านหน้าท้องของลูกปลา ประมาณ 1 – 2 วัน ถุงไข่แดงจะยุบลง นั่นเป็นเครื่องหมายว่าอาหารที่ติดตัวลูกปลาดุกมาตั้งแต่เกิดได้ใช้หมดไป แล้ว จำเป็นต้องมีการหาอาหารจากสภาพแวดล้อมกิน ในช่วงนี้ผู้เลี้ยงลูกปลาดุกจำเป็นต้องใช้อาหารเพื่อการเจริญเติบโต ซึ่งต้องมีปริมาณของโปรตีนสูง ได้แก่ ไข่แดงต้มสุก ไรแดง หรืออาหารผสม ต่อมาเมื่อปลาโตขึ้นสามารถที่จะปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้ อาหารที่ให้ได้แก่ ปลาเป็ดสับบดละเอียดผสมกับรำ หรือ อาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จวบจนกระทั่ง สามารถจับปลาดุกขายได้ 
        
ในธรรมชาติลูกปลาดุก กินอาหารจำพวกโปรโตซัว ไรน้ำขนาดเล็ก โรติเฟอร์ และ แพลงค์ตอนพืช ปลาดุกที่มีขนาดโตขึ้น จะกินอาหารจำพวกตัวอ่อนของแมลง ลูกกุ้ง ลูกปู หนอน และอินทรีย์สารที่อยู่ตามพื้นโคลน นอกจากนี้ยังสามารถฝึกให้กินอาหารสมทบทั้งประเภทจมน้ำ หรืออาหารชนิดเม็ดลอยน้ำได้ ซึ่งมีส่วนผสมของอาหารประเภทปลายข้าว รำ กากถั่ว ปลาป่น เป็นต้น

               
ปลา ดุกกินอาหารได้ทั้งพืชและสัตว์ ( Omnivorous) มีนิสัยชอบหาอาหารกินในเวลากลางวันตามบริเวณพื้นก้นบ่อ และจะขึ้นมากินอาหารบริเวณพื้นผิวน้ำเป็นบางขณะ ใน บางครั้งก็ถือว่าปลาชนิดนี้เป็นพวก Scavengers เนื่องจากเป็นปลาที่มีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเศษเนื้อที่กำลังสลายตัว ปลาดุกมีนิสัยชอบกินอาหารจำพวกเนื้อสัตว์มากกว่าอาหารจำพวกพืชหรืออาหาร จำพวกแป้ง
             อาหาร ต่างๆ เหล่านี้ ทั้งที่มีตามธรรมชาติ ทั้งที่ผสมให้กินโดยการทำเองมีสารอาหารต่างๆ ซึ่งจำเป็นต้องให้ปลาดุกอย่างครบถ้วน ตามที่ปลาดุกต้องการ ปลาดุกจึงเจริญเติบโตได้ดี คุณค่าทางอาหารที่ปลาดุกต้องการและจำเป็นมีอยู่ด้วยกัน 5 ชนิด คือ
            โปรตีน เป็นส่วนสำคัญของอาหารเพื่อนำเข้าไปเสริมสร้างร่างกาย ในส่วนที่สึกหรอ หรือนำไปใช้เพื่อการเจริญเติบโต ความต้องการโปรตีนของปลาดุกนั้นจะแตกต่างกันไปตามวัยและเวลาที่เพิ่มขึ้น ในลูกปลาวัยอ่อนจนถึงขนาดสามารถปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงได้มีความต้องการโปรตีน อยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ส่วนในช่วงระยะเวลาที่อยู่ในบ่อเลี้ยงปลาดุกมีความต้องการโปรตีน 25 – 35 เปอร์เซ็นต์
             คาร์โบ ไฮเดรต สารอาหารประเภทนี้ เป็นสารอาหารที่ให้พลังงานได้บางส่วนแก่ร่างกาย ความต้องการคาร์โบไฮเดรตของปลาดุกจะอยู่ในช่วง 35 – 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วปลาดุกจะไม่ขาดสารอาหารประเภทนี้เพราะมีอยู่ในแป้ง ปลายข้าว รำ และในข้าวโพด นอกจากนี้วัตถุดิบเหล่านี้ในอาหารผสมอัดเม็ดลอยน้ำ จะช่วยให้อาหารรวมตัวกันได้แน่นขึ้นอีกด้วย

      ไขมัน ไม่ว่าอาหารชนิดใดมักจะมีไขมันปะปนอยู่ด้วยเสมอไม่มากก็น้อย ซึ่งสารอาหารนี้เป็นสารอาหารที่ให้กำลังงานในปริมาณที่สูง บางครั้งปลาดุกที่ได้รับไขมันเป็นจำนวนมากก็จะมีโทษได้เช่นเดียวกันกับการมี ประโยชน์ของมัน ในอาหารที่ให้ปลาดุกไม่ควรจะมีไขมันในปริมาณที่มากเกิน 5 – 6 เปอร์เซ็นต์ วัตถุดิบที่มีไขมันในปริมาณมากได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันมะพร้าว เป็นต้น
          วิตามิน สารอาหารชนิดนี้จัดได้ว่าเป็นอาหารบำรุง เพราะมีส่วนช่วยให้ปลาดุกสามารถใช้สารอาหารอื่นๆ ได้มากขึ้น ทำให้ปลาดุกมีการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นโดยที่สารอาหารชนิดนี้เองไม่ได้มี ส่วนในการเจริญเติบโตของปลาดุกโดยตรงเลย ดังนั้นวิตามินจึงมีความจำเป็นที่ปลาดุกจะต้องได้รับตามความเหมาะสม
          แร่ ธาตุ เป็นส่วนประกอบสำคัญๆ ของสิ่งมีชีวิตโดยเฉพาะแคลเซียมและฟอสฟอรัส ซึ่งเป็นส่วนประกอบของกระดูกและฟัน และยังเป็นสารที่ควบคุมปริมาณของน้ำในตัวปลา แร่ธาตุมีอยู่ในสารอาหารโดยทั่วๆ ไปอยู่แล้ว
 อาหารลูกปลา
        
ไข่ แดงต้มสุก เป็นอาหารของปลาดุกในช่วงในช่วงที่ปลายังมีขนาดเล็ก ไม่สามารถกินอาหารอื่นๆ ได้ ไข่ที่นำมาใช้เป็นไข่เป็ด หรือไข่ไก่ ก็ได้ต้มให้สุกใช้แต่ไข่แดง โดยบี้ไข่แดงยีกับผ้าขาวบางตาละเอียดให้เม็ดเล็กที่สุด การให้ไข่แดงอย่าให้มาก เพราะเมื่อหลงเหลือจะทำให้น้ำเน่าเสียได้ง่าย
       ไข่ แดง เป็นอาหารหลักของลูกปลาวัยอ่อน ช่วยให้ลูกปลามีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีอัตราการรอดสูง ก่อนให้ไรแดงเป็นอาหารลูกปลาทุกๆ ครั้งต้องแช่ด้วยด่างทับทิมเพื่อฆ่าเชื้อโรคเสียก่อน
  อาหารปลาใหญ่
         ปลาเป็ด เมื่อเรืออวนลากออกจับปลาตามชายฝั่ง จะได้ปลาหลายๆ ขนาด ปลาขนาดเล็กที่จับได้ไม่เป็นที่นิยมบริโภคกันมีราคาไม่แพงมากนัก ปลานี้เราเรียกว่าปลาเป็ด มีคุณค่าของสารอาหารประเภทโปรตีนสูง การให้ปลาเป็ดเป็นอาหารปลาดุกมักจะสับให้ละเอียด หรือใช้เครื่องบดอาหารได้ อาหารเม็ดลอยน้ำ ได้จากการนำวัตถุดิบต่างๆ ทางการเกษตรที่มีคุณค่าทางอาหารมาบดให้ละเอียดแล้วผสมให้เข้ากันอัดเป็นเม็ดออกมา
วัตถุ ดิบที่นิยมทำมาเป็นอาหารเลี้ยงปลาดุกทั่วๆไป จะหาซื้อได้ตามท้องถิ่นที่ได้จากพืช ได้แก่ รำข้าว ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลัง กากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเมล็ด กากถั่วลิสง กากมะพร้าว ส่วนวัตถุดิบที่ได้มาจากสัตว์ก็มี ปลาเป็ด ปลาป่น เลือดป่น ในการเลือกวัตถุดิบเหล่านี้ควรจะเลือกวัตถุดิบที่มีคุณภาพดี ไม่ขึ้นรา ไม่เหม็นหืน อาหารที่ได้จึงมีคุณภาพดี เก็บไว้ใช้ได้นาน 



การเพาะเลี้ยงปลาดุก
      การเลี้ยงปลาดุก  สามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดิน  บ่อซีเมนต์และในกระชัง  แต่ส่วนมากนิยมเลี้ยในบ่อดิน  ซึ่งขนาดบ่อดินที่เหมาะสมควรมีขนาดไม่เกิน  1  ไร่
การเลือกสถานที่ปัจจัยที่ควรนำมาพิจารณาในการเลือกสถานที่สร้างบ่อเลี้ยงปลา  มีดังนี้          1.  สถานที่ไม่เป็นที่ลุ่มหรือที่ดอนเกินไป  สามารถจัดระบบน้ำระบายน้ำเข้า-ออกได้ดี
          2.  สภาพดินควรเป็นดินเหนียวสามารถทำเป็นคันบ่อเก็บกักน้ำได้ดี
          3.  สภาพน้ำต้องเป็นน้ำสะอาดปราศจากสารพิษของโลหะหนักหรือยาฆ่าแมลง หรือของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม
          4.  ทางคมนาคมสะดวก
การเตรียมบ่อเลี้ยงปลา
   มีวิธีการเตรียมบ่อดังนี้

1.  บ่อใหม่
-  ใส่ปูนขาวเพื่อปรับสภาพดินในอัตรา  60-100  กิโลกรัม/ไร่  โดยให้ทั่วพื้นบ่อ
ใส่ปุ๋ยคอกอัตรา  200  กิโลกรัม/ไร่  โดยโรยให้ทั่วบ่อ
เติมน้ำให้ได้ระดับ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5  วัน  จนน้ำเริ่มเป็นสีเขียวระวังอย่าให้เกิดแมลง หรือศัตรูปลา         
2.  บ่อเก่า          -  ทำความสะอาดบ่อลอกเลนให้มากที่สุด         
-  ใส่ปูนขาวอัตรา 60-100  กิโลกรัม/ไร่         
-  ตากบ่อให้แห้ง  ประมาณ  7-15  วัน         
-  นำปุ๋ยคอกใส่ถุงแขวนไว้ตามมุมบ่อประมาณ  60-100  กิโลกรัม/ไร่  เพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติ         
-  เติมน้ำ  40-50  เซนติเมตร  ทิ้งไว้  3-5 วัน  จนน้ำเป็นสีเขียว  
ก่อนปล่อยปลาควรตรวจวัดความเป็นกรด-ด่างของน้ำอีกครั้ง  ถ้าไม่ถึง  7.5-8.5  ควรน้ำปูนขาวละลายน้ำสาดให้ทั่วบ่อเพื่อปรับความเป็นกรด-ด่าง  ให้ได้  7.5-8.5
การเตรียมพันธ์ปลา


การเลือกซื้อลูกปลาควรพิจารณาปัจจัยต่าง ๆ  ดังนี้
          1.  แหล่งพันธุ์หรือบ่อเพาะฟัก  ควรดูจาก
              -  ความน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้ในเรื่องคุณภาพ
              -  มีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์  เพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีคุณภาพ
              -  มีความชำนาญในการขนส่งลูกปลา
          2.  ลักษณะภายนอกของลูกปลาต้องปกติสมบูรณ์  ซึ่งสังเกตจาก
             
-  การว่ายน้ำต้องปราดเปรียว  ไม่ว่ายควงสว่าน  หรือลอยตัวตั้งฉากพื้นบ่อ
              -  ลำตัวสมบูรณ์  หนวด  หาง  ครีบ  ไม่กร่อน  ไม่มีบาดแผล  ไม่มีจุดหรือปุยขาวเกาะ
              -  ขนาดลูกปลาต้องเสมอกัน
การปล่อยลูกปลาบ่อเลี้ยง           เมื่อขนส่งลูกปลามาถึงบ่อที่เตรียมไว้ควรแช่ถุงปลาไว้ในบ่อประมาณ  10-15  นาที  เพื่อปรับอุณหภูมิระหว่างน้ำในถุงกับน้ำในบ่อเพื่อป้องกันลูกปลาช็อค  ก่อนปล่อยลูกปลาควรมีการทำร่มเงาไว้ในบ่อให้ลูกปลาได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัย
อัตราการปล่อย
        เกษตรกรรายใหม่  ควรปล่อยลูกปลาขนาดปลานิ้ว  จะทำให้อัตราการรอดสูง  อัตราการปล่อย  ปลาขนาด 2-3  เซนติเมตร  ปล่อย  80,000-100,000 ตัว/ไร่  ก่อนปล่อยควรสุ่มนับจำนวนเพื่อตรวจสอบให้รู้จำนวนจริง
อาหารและการให้อาหาร
         ต้นทุนการผลิตปลาประมาณ  80%  เป็นค่าอาหาร  เพราะฉะนั้นการเลี้ยงใช้อาหารเป็นสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญเป็นพิเศษ
การเลือกซื้ออาหาร
ลักษณะของอาหาร

          -  สีสันดี
          -  กลิ่นดี  ไม่เหม็นหืน
          -  ขนาดเม็ดสม่ำเสมอ  ไม่เป็นฝุ่น
          -  การลอยตัวของอาหารในน้ำอยู่ได้นาน
          -  อาหารไม่เปียกชื้น  ไม่จับตัวเป็นก้อน  ไม่ขึ้นรา


ประเภทของอาหารสำเร็จรูป          -  อาหารสำหรับลูกปลาวัยอ่อน  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  1 – 4  เซนติเมตร
          -  อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ  ใช้สำหรับลูกปลาขนาด  3  เซนติเมตร – 1  เดือน
          -  อาหารปลาดุกเล็ก  ใช้สำหรับปลาอายุ  1-3  เดือน
          -  อาหารปลาดุกใหญ่  ใช้สำหรับปลาอายุ  3  เดือน  -  ส่งตลาด
วิธีการให้อาหารปลา
               เมื่อปล่อยลูกปลาวันแรกไม่ต้องให้อาหาร  จะเริ่มให้อาหารวันถัดไป  อาหารที่ให้เป็นอาหารลูกปลาวัยอ่อน  พรมน้ำ แล้วนวดจนเหนียวปั้นเป็นก้อนแล้วเสียบกับไม้ปักไว้รอบบ่อปริมาณที่ให้ต้องให้ปลากินหมด  ภายในเวลา  30-60  นาที  โดยให้อาหารประมาณ  1  สัปดาห์      หลังจากนั้นอาจจะให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษแช่น้ำให้นิ้มแล้วปั่นรวมกับอาหารลูกปลาวัยอ่อนให้ปลากิน    เมื่อปลาโตพอกินอาหารเม็ดได้ก็เริ่มให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษอย่างเดียวหว่านให้กินกระจายทั่วบ่อ  ปริมาณที่ให้กะหมดภายใน  30  นาที  ให้กินจนลูกปลาอายุ  1  เดือน   ให้อาหารปลาดุกเล็กโดยให้ในแต่ละมื้อควรให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที ช่วงนี้ควรเริ่มฝึกให้ปลากินอาหารเป็นที่   โดยให้อาหารจุดเดิมประจำปละเคาะหลักไม้ทุกครั้งเมื่อมีการให้อาหาร การให้อาหารปลาจะให้  2  มื้อ  ต่อวันให้อาหารปลาดุกเล็กจนลูกปลามีอายุ  2  เดือน  ให้อาหารปลาดุกใหญ่  ปริมาณที่ให้แต่ละมื้อจะต้องให้ปลากินหมดภายใน  30  นาที่  โดยให้อาหาร  2  มื้อ   ในกรณีปลาป่วย  หรือกินอาหารลดลงให้ลดปริมาณอาหารลงครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ให้ปกติ  ในกรณีเกิดจากสภาพน้ำ  หรือการเปลี่ยนแปลงของอากาศให้ปรับสภาพน้ำโดยทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำ  หรือใส่เกลือ  หรือปูนขาว   ถ้าพบว่าปลาที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียให้ผสมปฏิชีวนะ  3-5  กรัมต่ออาหาร  1  กิโลกรัม  ให้กินติดต่อกัน  7  วัน  เช่น  อาออกชีเตตร้าซัยคลิน    ถ้าเกิดจากพยาธิภายนอกให้รักษาตามลักษณะของพยาธินั้น ๆ  เช่นถ้าพบปลิงใส  เห็บระฆัง  เกาะจำนวนมาก  หรือเริ่มทยอยตายให้ใช้ฟอร์มาลินเข้มข้น  30-40  ซีซี/น้ำ  1,000  ลิตร  ฉีดพ่นหรือสาดลงในบ่อแช่ทิ้งตลอด


บทที่ ๓
วิธีดาเนินงาน


ลำดับ


ขั้นตอนการศึกษา



ระยะเวลาดาเนินการ
.
กำหนดปัญหา
๑๕พ.. ๕๕
.
ศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องการเลี้ยงปลาดุก
๑๗พ.ย.๕๕
.
รวบรวมข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๑๙พ.. ๕๕
.
ศึกษาค้นคว้าจากอินเทอร์เน็ต
๒๑พ.. ๕๖
.
รวบรวมข้อมูลที่ได้
๒๒พ.. ๕๖
.
จัดทารูปเล่มรายงานขึ้นเพื่อออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นม. ๔และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๒๔พ.. ๕๖
.
ออกเผยแพร่ความรู้ที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโครง
๒๖ พ.. ๕๖
.
นำความรู้ที่ได้มาจัดทำขึ้น
๒๗พ.. ๕๖
.
ฝึกซ้อมการนาเสนอโครงงานเรื่องการเลี้ยงปลาดุก
๑ธ.. ๕๖
๑๐.
นาเสนอโครงงาน
๒๕ ธ.. ๕๖




ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมอุปกรณ์  1.ท่อปูนซีเมนต์ขนาด 100*50 เซนติเมตร
  2.ท่อพีวีซี ขนาด 1 นิ้ว ยาว 20 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น และยาว 40 เซนติเมตร จำนวน 1 เส้น
  3.ข้องอพีวีซีขนาด 1 นิ้ว จำนวน 1 อัน
  4.ยางนอกรถสิบล้อจำนวน 1 เส้น
  5.ยางนอกรถจักรยานยนต์จำนวน 1 เส้น
  6.ตาข่าย
  7.น้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
  8.ปูน ทราย หิน
  9.อาหารสำหรับเลี้ยงปลาดุก
  10.พืชผักที่ปลากิน เช่น ผักบุ้ง ผักตบชวา ฯลฯ
  11.ลูกปลาดุก 70-80 ตัว


ขั้นตอนที่ 2 การเตรียมบ่อปูนซีเมนต์สำหรับเลี้ยงปลาดุก1.จะต้องทำการฆ่ากรดฆ่าด่างในบ่อปูน โดยให้นำหัวกล้วยหรือโคนกล้วยมาสับให้เป็นชิ้นเล็กๆ นำมูลวัวมาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากัน แล้วนำใส่ไปในบ่อใส่น้ำให้เต็ม แล้วหมักไว้ 5 วัน จากนั้นให้เปิดน้ำทิ้งแล้วเอาโคนกล้วยออกทิ้งด้วย
2.นำน้ำสะอาดใส่ไปในบ่อแล้วแช่ทิ้งไว้ 1 วัน หลังจากนั้นก็ให้เปิดน้ำทิ้ง
3.นำผักบุ้งมาถูให้ทั่วบ่อ ทิ้งไว้ตากบ่อให้แห้ง



ขั้นตอนที่ 3 การทำน้ำหมักสูตรเลี้ยงปลา
  1.ถังพลาสติกที่มีฝาปิดจำนวน 1 ถัง
  2.น้ำตาลทรายแดง 3 กิโลกรัม
  3.ฟักทองแก่ 3 กิโลกรัม
  4.มะละกอสุก 3 กิโลกรัม
  5.กล้วยน้ำหว้าสุก 3 กิโลกรัม

วิธีทำ
    หั่นมะละกอ, กล้วยน้ำหว้า, ฟักทองทั้งเปลือกและเมล็ดใส่ไว้ในภาชนะที่มีฝาปิด ผสมน้ำตาลทรายแดง แล้วคนให้เข้ากันและปิดฝาให้แน่นหมักทิ้งไว้ 7 วัน แล้วเติมน้ำสะอาด 9 ลิตร ปิดฝาให้แน่นแล้วหมักต่ออีก 15 วัน

ประโยชน์
-เป็นฮอร์โมนพืช เร่งดอก เร่งผล รสชาติหวานอร่อย
-ปลาไม่เป็นโรค
-ปลาไม่มีกลิ่นสาบ
-ปลาไม่มีมันในท้อง
-ปลาจะมีเนื้อหวานรสชาติอร่อย

ขั้นตอนที่ 4 การเลี้ยง
1.นำท่อปูนที่มีรอยคราบผักบุ้ง หรือบ่อปูนที่ไม่มีกรดไม่มีด่าง ใส่น้ำให้มีความสูง 10 เซนติเมตร (ช่วงปลาขนาดเล็ก เพิ่งนำมาปล่อย) แล้วเติมน้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะ
2.นำปลาดุกมาแช่น้ำในบ่อปูนทั้งถุง แล้วค่อยๆเปิดปากถุงให้ปลาว่ายออกมาเอง
3.วันแรกที่นำปลามาปล่อยไม่ต้องให้กินอาหาร
4.นำพืชผักที่ปลากิน เช่นผักบุ้ง ผักตบชวาและอื่นๆมาใส่ในบ่อ
5.การให้อาหาร ปลา 1 ตัวให้อาหาร 5 เม็ด/เมื้อ ในช่วงปลาเล็กให้อาหารวันละ 2 เมื้อ เช้า-เย็น ปลาอายุ 1 เดือนครึ่งให้อาหารปลาขนาดกลาง โดยให้อาหารวันละ 1 ครั้ง ให้ปลากินตอนเย็น
หมายเหตุ ก่อนให้อาหารต้องนำอาหารมาแช่น้ำก่อนเสมอประมาณ 10-15 นาที

เหตุผลเพื่อ
  1.ปลาจะได้กินอาหารทุกตัว
  2.ปลาตัวที่แข็งแรงจะทำให้ท้องไม่อืด
  3.ปลาไม่ป่วย
  4.การเจริญเติบโตใกล้เคียงกัน
  5.อาหารไม่เหลือในบ่อและน้ำก็ไม่เสีย
  6.ถ่ายน้ำทุกๆ 7 วัน หรือ 10 วัน/ครั้ง ทุกครั้งที่ถ่ายน้ำจะต้องใส่น้ำหมัก 1 ช้อนโต๊ะเสมอ

ขั้นตอนที่ 5 การจำหน่าย
   1.ก่อนจะจำหน่าย 2 วัน ให้นำดินลูกรังสีแดงหรือซังข้าวมาแช่ไว้ในบ่อ จะทำให้ปลาดุกมีสีเหลืองสวย ขายได้ราคาดี
   2.ปลาดุก 3 เดือนครึ่ง จำนวน 70 ตัว จะมีน้ำหนัก 14-15 กิโลกรัม หรือประมาณ 4-5 ตัว/กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 60-70 บาท
   3.ต้นทุนอาหารกิโลกรัมละ 19-20 บาท หมายเหตุ ต้นทุนครั้งแรก 1 ชุด 430 บาท น้ำที่ถ่ายทิ้งจากบ่อปลาสามารถนำมารดต้นไม้ พืชผักสวนครัว เป็นปุ๋ยอย่างดี

 การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก(เกษตรพอเพียง) 
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก

ขั้นตอนการเลี้ยงมี 4 ขั้นตอน
   1. การจัดเตรียมบ่อขุดบ่อขนาดกว้าง 2 เมตร ลึก 1 เมตร ก้น 1 เมตร จัดทำขอบบ่อให้มีระดับเดียวกัน ปูผ้าพลาสติกสีดำกันน้ำซึม
   2. การปรับสภาพน้ำในบ่อปลาเปิดน้ำใส่บ่อจนเต็มจากนั้นใส่ จุลินทรีย์ EM จำนวน 1 ลิตร ผสมกากน้ำตาล 1 กิโลกรัม และแร่แม๊กนี เซียม จำนวน 3 กิโลกรัม ทิ้งไว้ 5 – 7 วัน เพื่อเป็นการปรับสภาพน้ำและลดการ เน่าเสียของน้ำ จากนั้นก็ปล่อยปลาลงเลี้ยงได้
   3. ปลาดุกที่เลี้ยงใช้ พันธุ์บิ๊กอุย ขนาดยาว 5 – 7 ซม. จำนวน 1,000 – 2,0000 ตัว เลี้ยงประมาณ
   2 – 3 เดือน ก็สามารถจับบริโภคได้
   4. การทำอาหารปลาดุก




การทำอาหารปลาดุก
ส่วนผสม
1. รำละเอียด 2 กระสอบปุ๋ย
2. กากมะพร้าว 1 กระสอบปุ๋ย
3. ปลาป่น 6 กิโลกรัม
4. กากถั่วเหลือง 6 กิโลกรัม
5. จุลินทรีย์ EM 1 ลิตร
6. กากน้ำตาล 1 กิโลกรัม
7. น้ำมันพืช 1 – 2 ลิตร

วิธีทำ
  1. นำส่วนผสมข้อ 1 1 กระสอบ ข้อ 2,3,4 คลุกให้เข้ากัน
  2. นำส่วนผสม ข้อ 5,6 ผสมน้ำ 20 ลิตร เพื่อคลุกเคล้าส่วนผสม ข้อ 1 หมักไว้ 12 ชั่วโมง
  3. นำส่วนผสมที่หมักไว้ในข้อ 1,2 ผสมกับรำละเอียด 1 กระสอบและน้ำมันพืช 1 – 2 ลิตรคลุกเคล้านำเข้าเครื่องอัดเม็ดผึ่งแดด 2 วัน เก็บไว้ได้ 2 เดือน
เกร็ดความรู้
   1. การซื้อพันธุ์ปลาก่อนการเคลื่อนย้ายให้ปลาอดอาหาร 1 – 2 วัน เพื่อป้องกันปลาดิ้นและทำให้ปลาไส้ขาดเวลาเลี้ยงปลาจะไม่โต
   2. การเคลื่อนย้ายปลาให้เตรียม น้ำมันพืช 30 ซีซี : เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ คนให้เข้ากันตักใส่ในถุงหรือที่มีพันธุ์ปลา อยู่ประมาณ 1 ช้อนชา เพื่อป้องกันปลาบาดเจ็บ
   3. การป้องกันปลาหนีจากบ่อเวลาฝนตก ใช่วิธีหากมีฝนตกให้หว่านอาหารให้ปลากิน สัก 2 – 3 ครั้ง เพื่อหลอกว่าเวลาฝนตกจะได้กินอาหารแล้วปลาจะไม่หนี
   4. การเปลี่ยนถ่ายน้ำให้ดูดน้ำออก 1 ส่วน ใน 3 ส่วน และนำน้ำที่ใส่ใหม่ให้ทำเป็นละอองฝอยโดยใช้สายยางเพื่อเพิ่มออกซิเจนให้แก่ปลา
   5. การจับปลาเพื่อบริโภคโดยใช้วิธีใช้สายยางฉีดน้ำเหมือนกับฝนตกปลาจะเล่นน้ำ จากนั้นใช้สวิงตักปลา ที่เล่นน้ำทันที ปลาจะไม่รู้สึกถึงอันตรายและจะกินอาหารต่อและไม่หนี้

ข้อดีของการเลี้ยงปลาดุกบิ๊กอุยในบ่อพลาสติก
-ใช้พื้นที่เลี้ยงน้อย สามารถเลี้ยงได้ทุกที่
-ก่อสร้างบ่อเลี้ยงได้ง่าย
-ระยะเวลาเลี้ยงสั้น
-เลี้ยงง่าย อดทนต่อสภาพน้ำได้ดี
-บริโภคเองในครัวเรือน และมีเหลือจำหน่าย
การเลือกสถานที่สร้างบ่อ
-อยู่ใกล้บ้าน
-อยู่ที่ร่มหรือมีหลังคา
-มีแหล่งน้ำสำหรับการเปลี่ยนถ่ายน้ำได้สะดวก


การเตรียมน้ำ
-น้ำบาดาล น้ำบ่อ น้ำในแหล่งน้ำลำคลองสามารถใช้เลี้ยงปลาได้
-น้ำประปาต้องทิ้งน้ำไว้ 3 วัน ก่อนถึงจะนำมาเลี้ยงปลาได้

การเลี้ยง
    1. ขนาดปลาที่จะนำมาเลี้ยง
ปลาที่เริ่มเลี้ยงยาวตั้งแต่ 1.5 นิ้วขึ้นไป ไม่ควรนำปลามาเลี้ยงในฤดูหนาวเพราะปลามีความต้านทานต่อโรคต่ำ
    2. อัตราการเลี้ยง
ปล่อยลูกปลาในอัตรา 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร
   3. การปล่อยปลา
แช่ถุงลูกปลาไว้ในบ่อเลี้ยง 30 นาที จึงค่อยๆ ปล่อยลงบ่อช่วงแรกที่ปล่อย ให้เติมน้ำลงบ่อมีความสูงประมาณ 10 ซม.แล้วค่อยเพิ่มระดับน้ำขึ้นไปเรื่อยๆ ทุกๆ อาทิตย์ จนมีระดับสูงสุด 30-50 ซม.
การให้อาหารปลา
  เริ่มแรกให้อาหารเม็ดเล็กและบุบพอแตกสำหรับปลาเล็ก
  อาหารสดพวกเศษเนื้อ สับให้ปลากินได้
  ตัวปลวก แมลงเม่าและแมลงอื่น ๆ โปรยให้ปลากิน
  ให้อาหารเป็นเวลา วันละ 2 มื้อ เช้า - เย็น


การถ่ายเทน้ำ
ทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำเมื่อน้ำเริ่มเสีย
ไม่ควรถ่ายน้ำออกหมด เหลือน้ำเก่าไว้ 2/3
เปลี่ยนถ่ายน้ำหลังให้อาหารแล้วไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง
น้ำที่ถ่ายออกสามารถนำไปรดพืชผักได้


  ต้นทุน
ค่าพลาสติกปูพื้นบ่อ (PVC # 3.5x 6 ม.) 500 บาท
ค่าอาหารเม็ด (เลี้ยงนาน 3 เดือน #30 กก. ) 500 บาท
ค่าพันธุ์ปลาดุก (ขนาด 1 นิ้ว 500 ตัว) 500 บาท
รวมทั้งสิ้น ประมาณ 1,500 บาท

การจับปลา
เลี้ยง 3-4 เดือน ได้ปลาขนาด 100-200 กรัม/ตัว
อัตรารอดประมาณ 80-90 %
ได้ผลผลิตปลา ประมาณ 30-50 กก/บ่อ
คิดเป็นมูลค่า (กก. ละ 30 บาท) 900-1,500 บาท


บทที่ ๔
ผลการศึกษาค้นคว้า
     ผลการศึกษาค้นคว้า เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก จากกาสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง และจากอินเทอร์เน็ต ปรากฏการศึกษา ดังต่อไปนี้
ปัญหา
1. ปัจจุบันปลาตามท้องตลาดมีราคาแพง
2. ปลาตามท้องตลอดมีสารปนเปื้อน
3. โรงเรียนขาดแคลนอาหาร
สาเหตุ
1. อยากจะได้อาหารหลักที่มีธาตุโปรตีนสูง
2. ลดค่าใช้จ่าย
3. ลดอันตรายจากการบริโภคที่ซื้อมา
เป้าหมาย
1. ให้นักเรียนในโรงเรียนมีอาหารไว้รับประทาน
2. ให้นักเรียนมีรายได้เสริมจากการจาหน่ายปลา
3. นักเรียนรู้จักความพอเพียงในการดารงชีวิตประจาวัน
4. นักเรียนได้ศึกษาการดารงชีวิตของปลาดุก
แนวทางแก้ไข
1. เลี้ยงปลาไว้รับประทานเอง
2. ได้รับสารอาหารประเภทโปรตีนจากปลา
3. ควรหลีกเลี่ยงการเลี้ยงปลาในฤดูหนาว
4. ควรให้อาหารพอประมาณ
5. ควรเปลี่ยนน้าอย่างสม่ำเสมอและเพิ่มสารอีเอ็มด้วย
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะ ดังนี้
ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นเช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผลโดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทานั้นๆ อย่างรอบคอบ
การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัวเอง หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบ ที่จะนาความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วยมีความตระหนักในคุณธรรม มีความซื่อสัตย์ สุจริต มีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดารงชีวิตไม่โลภ ไม่ตระหนี่
ประเมินผลการดำเนินงาน
การดาเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย นักเรียนได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับการเลี้ยงปลา ได้เรียนรู้เรื่องการดารงชีวิตของปลา เช่น การกินอาหาร การดูแลรักษาปลา การจับปลาเพื่อประกอบอาหารและจาหน่าย เป็นการเสริมรายได้ให้กับโครงการเป็นอย่างดี
การประเมินตนเอง
นักเรียนได้ศึกษาการเลี้ยงปลาดุกและได้ลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งพบว่า ลูกปลาที่มีขนาดต่างกันนั้น จะกินอาหารมากน้อยไม่เท่ากันและการเจริญเติบโตก็จะแตกต่างกัน สภาพอากาศก็มีส่วนในการกินอาหารของปลา เช่น อากาศหนาวเย็นปลาจะไม่ชอบกินอาหาร ซึ่งนักเรียนได้เรียนรู้การเลี้ยงปลาดุกและสามารถนามาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจาวันได้มากกว่าร้อยละ 80 ของนักเรียนที่มาเรียนรู้ระหว่างการดาเนินการโครงงาน
การประเมินและวิจารณ์โดยผู้อื่น/ข้อเสนอแนะ
1. ไม่ควรเลี้ยงปลาในฤดูหนาว
2. บ่อควรมีขนาดใหญ่
3. ควรเลี้ยงปลาให้หลากหลายชนิด เช่น ปลาตะเพียน ปลานวลจันทร์ ปลาไน เป็นต้น
4. ควรให้อาหารที่พอเหมาะ
5. ควรจับปลาขณะโตเต็มที่
6. ควรสำรวจราคาและตลาดของปลา
7. ควรศึกษาเกี่ยวกับการดารงชีวิตของปลาให้มากขึ้น
8. ให้นักเรียนเสียสละมีความอดทน ขยันและมีความซื่อสัตย์



บทที่ ๕
สรุปผล
อภิปรายผล ประโยชน์ที่ได้รับ และข้อเสนอแนะ
การศึกษาโครงงาน เรื่อง การเลี้ยงปลาดุก สรุปผลได้ดังนี้
สรุปผล
จากการศึกษาและสัมภาษณ์ชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง ได้ศึกษาการเพาะเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ ได้ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการเลี้ยงปลาดุก และอื่น ๆ ผู้ศึกษาจึงได้นาผลการเรียนรู้ออกเผยแพร่ให้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ อ.บัวเชด จ.สุรินทร์ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อให้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง ได้นาความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้กับชีวิตประจาวันและสามารถปฏิบัติตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ทดสอบกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ ได้ผลสัมฤทธิ์ในระดับดี
อภิปรายผล
จากการศึกษา เรื่องการเพาะเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ ทาให้รู้ถึง ลักษณะการเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ มีดังนี้
๑. ทำให้รู้ถึงลักษณะการเลี้ยงปลาดุกด้าน
๒.ทาให้รู้ถึงลักษณะการเลี้ยงปลาดุกอุย






ประโยชน์ที่ได้รับ
๑. รู้และเข้าใจ เรื่อง การเพาะเลี้ยงปลาดุกต่าง ๆ
๒. ได้ออกเผยแพร่ให้ความรู้กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ และชาวบ้านหมู่บ้านใกล้เคียง
๓. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ สามารถนาความรู้ที่ได้จากการจัดทาโครงงานนาไปปฏิบัติจริงที่
บ้าน และที่โรงเรียน
๔. ได้รู้จักการทางานร่วมกันเป็นหมู่คณะ
๕. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีอาหารไว้รับประทาน
๖. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ มีรายได้เสริมจากการจำหน่ายปลาดุก
๗. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔รู้จักความพอเพียงในการดารงชีวิต
๘. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ได้ศึกษาการดารงชีวิตของปลาดุก
๙. ได้ปฏิบัติตามแนวพระราชดารัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


ภาคผนวก